โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้ง เป็นประธานาธิบดีอเมริกาคนใหม่

โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้ง เป็นประธานาธิบดีอเมริกาคนใหม่
 
โดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลีกัน ชนะการเลือกตั้งทั่วไป เตรียมขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐอเมริกา เฉือนชนะนางฮิลลารี่ คลินตัน จากพรรคเดโมแครต

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2559 จากการเลือกตั้งประประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ผลปรากฏว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลีกัน ชนะการเลือกตั้งนางฮิลลารี่ คลินตัน จากพรรคเดโมแครต ส่งผลให้นายโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ การนับคะแนนดังกล่าวเป็นไปอย่างดุเดือด ซึ่งแม้ว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ จะทำคะแนนนำมาโดยตลอด แต่มีบางช่วงบางตอนที่นางฮิลลารี่ สามารถทำคะแนนได้อย่างสูสี ทว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ก็ชนะการเลือกตั้งไปในที่สุด 

นโยบายในช่วงหาเสียงของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ทั้งเรื่องการบังคับใช้กฎหมายผู้อพยพ ทั้งบริเวณจุดผ่านแดนและในที่ทำงาน, การสร้างกำแพงเพื่อกั้นเขตแดนและงดให้ที่ลี้ภัย, การสนับสนุนกฎหมายให้มีการพกปืนเพื่อป้องกันตัวเอง, การต่อต้านการทำแท้ง, การสร้างงานที่มีรายได้สูงและการให้การสนับสนุนทางด้านทหารและทหารผ่านศึก, การใช้มาตรการที่เด็ดขาดในการควบคุมอาชญากรรม และการทำลายกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง

นายโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นนักการเมืองและนักธุรกิจเจ้าของเครือบริษัท The Trump Organization เขาร่ำรวยจากการทำกำไรด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยที่เขาเองมีตึกมากมายที่มีชื่อเสียงเช่น ทรัมป์ ทาวเวอร์ ในย่านใจกลางเมืองสุดหรูในกรุงนิวยอร์ก, ทรัมป์ ทัจมาฮาล, ทรัมป์ โอเชี่ยน คลับ นอกจากนี้ เขาเองยังเคยถือลิขสิทธิ์การจัดการประกวดมิสยูนิเวิร์ส เป็นเจ้าของมูลนิธิ โดนัลด์ เจ. ทรัมป์ และผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยทรัมป์

มีรายงานด้วยว่า เวลา 14.30 น. ตามเวลาประเทศไทย เว็บกูเกิ้ล เสิร์ชเอนจิ้นชื่อดังระดับโลก ที่เก็บรวบรวมรายงานผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2016 ได้แจ้งผลเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการแล้วว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกัน คว้าชัยชนะในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐครั้งนี้ โดยได้คะแนน Electoral Vote หรือคะแนนองค์คณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีเกิน 270 เสียง เท่ากับว่าชนะการเลือกตั้งโดยปริยาย

สำหรับระบบการเลือกตั้งผู้นำสหรัฐนั้น ทางเว็บวีโอไทย อธิบายไว้ว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ใช้กระบวนการที่เรียกว่า Electoral College หรือ คณะผู้เลือกตั้ง ซึ่งผู้ที่จะได้เป็นประธานาธิบดีต้องได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral Voter) ของรัฐต่างๆ รวมกันอย่างน้อย 270 เสียง จากจำนวนทั้งสิ้น 538 เสียง แต่ละมลรัฐจะมีจำนวนคณะผู้เลือกตั้งไม่เท่ากัน เพราะขึ้นกับจำนวนประชากรของรัฐนั้น

วิธีคิดง่ายๆ คือคณะผู้เลือกตั้งจะเท่ากับจำนวนสมาชิกวุฒิสภา (ซึ่งมีได้รัฐละสองคนเท่ากัน) บวกกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นตัวแทนของรัฐนั้นๆ ในสภา Congress ของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ที่กรุงวอชิงตัน

ตัวอย่างเช่น รัฐ California มีคณะผู้เลือกตั้งรวม 55 คน ในขณะที่รัฐ Montana, North Dakota, South Dakota และ Wyoming มีคณะผู้เลือกตั้งเพียงแค่รัฐละ 3 คน เป็นต้น (หมายเหตุ: กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แม้จะไม่มีสถานะเป็นรัฐ แต่กฎหมายก็กำหนดให้มีคณะผู้เลือกตั้งได้ 3 คนเช่นกัน)

รัฐส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ ใช้กฎที่เรียกว่า Winner Takes All ซึ่งหมายถึงผู้สมัครเป็นประธานาธิบดีคนใดที่ได้คะแนนเสียง (popular vote) จากประชาชนของรัฐนั้นมากกว่าในการเลือกตั้ง (ไม่ว่าจะมากกว่าเพียง 50 หรือ 50,000 คะแนนก็ตาม) จะได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral Vote) ของรัฐนั้นไปครองทั้งหมด

โดยมีเพียงสองรัฐเท่านั้นคือ Maine กับ Nebraska ที่ไม่ใช้หลักการนี้ แต่จะจัดสรรคะแนนของคณะผู้เลือกตั้งให้ตามคะแนนเสียงที่ผู้สมัครเป็นประธานาธิบดีได้รับจากพลเมืองของรัฐของตน (popular vote)

สำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปี 2016 นี้ การสำรวจความนิยมแสดงว่า เหลือเพียงประมาณ 11 รัฐหรือที่เรียกว่า Swing States เท่านั้น ที่ผู้สมัครทั้งสองฝ่ายกำลังมุ่งให้ความสนใจในขณะนี้

โดยคะแนนจากคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral Vote) ในรัฐเหล่านี้มีอยู่รวมกันประมาณ 146 เสียง ซึ่งรัฐ Swing States ที่สำคัญๆ ในการเลือกตั้งครั้งนี้ได้แก่ Florida (29 เสียง) North Carolina (15 เสียง) Ohio (18 เสียง) และ Pensylvania (20 เสียง) เป็นต้น

นโยบายต่างๆ ตอนที่ Donald Trump ใช้หาเสียง
----------------------------------------------------------
นโยบายการคลัง
--------------------
อัดฉีดงบการคลัง มากกว่าคลินตันอย่างน้อย 2 เท่า 
ตั้งงบขาดดุลการคลัง หนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

นโยบายการค้า 
------------------
คุมเข้มทางการค้า ตั้งกำแพงภาษี โดยเฉพาะจีน (ขึ้นภาษีนำเข้าเป็น 45%)

ลดระดับความสัมพันธ์กับจีน มองจีนเป็นผู้บิดเบือนอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Manipulator)

รื้อ NAFTA ไม่ทำ TPP

ภาษี
------
ภาษี นิติบุคคล : ปรับลดอัตราภาษีเหลือ 15% กำหนดภาษีโอนกำไรจากต่างประเทศที่ 10% ชำระครั้งเดียว

บุคคลธรรมดา: ปรับลดอัตราภาษี ยกเลิกภาษีกองมรดก

นโยการเงิน
--------------
ลดกฎเกณฑ์ ยกเลิก Dodd-Frank (กฎหมายที่ออกมาเพื่อตรวจสอบการทำงานของบริษัทที่มีขนาดใหญ่มาก)

สนับสนุนธนาคารขนาดใหญ่ หากธนาคารพาณิชย์ประสบปัญหา จะต้องช่วยเหลือ

ไม่เห็นด้วยที่จะลดขนาดของธนาคารพาณิชย์

นโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 
--------------------------------------------
ลดระดับความสัมพันธ์กับรัสเซีย และจีน

การรับคนเข้าประเทศ
-------------------------
คุมเข้มการตรวจคนเข้าเมือง สร้างกำแพงระหว่างสหรัฐฯ และเมกซิโก (5555+)

ยกเลิกการได้มาซึ่งสัญชาติอเมริกัน สำหรับใครก็ตามที่กำเนิดในแผ่นดินอเมริกา (Brightright Citizenship)

ธนาคารกลาง (FED)
-------------------------
จะตรวจสอบการทำงานธนาคารกลาง จะเปลี่ยนประธาน FED (55555+)

พลังงาน
----------
เดินหน้าเพิ่มการผลิต พลังงานประเภท Fossil Fuel

ปลดกฎเกณฑ์ เงื่อนไขการทำธุรกิจพลังงานน้ำมันและกาซธรรมชาติ

จะสนับสนุนธุรกิจถ่านหิน

อื่นๆ
-----
ยกเลิก Obama Care

ลดระดับเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม

.

วรวรรณ ธาราภูมิ