OSI 7 Layer by OSI Model


7 Layer ของ OSI Model สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ upper layers และ lower layers
Upper layers โดยทั่วไปจะเป็นส่วนที่พัฒนาใน Software Application โดยประกอบด้วย Application Layer, Presentation Layer และ Session Layer
Lower Layer จะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการสื่อสารข้อมูลซึ่งอาจจะพัฒนาได้ทั้งแบบเป็น Software และ Hardware

รายละเอียดของแต่ละลำดับชั้น
1.Physical Layer
     ชั้น Physical เป็นระดับชั้นล่างสุดของมาตราฐาน OSI และจะเป็นระดับชั้นเดียวที่มีการเชื่อมต่อทางกายภาพระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในระบบเครือข่ายในระดับชั้นนี้จะกำหนดคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น คุณสมบัติทางไฟฟ้า และกลไกต่างๆ ของวัสุที่ใช้เป็นสื่อกลาง ตลอดจนสัญญาณที่ใช้ในการส่งข้อมูล คุณสมบัติที่กำหนดไว้ในชั้นนี้ประกอบด้วยคุณลักษณะทางกายภาพของสาย, อุปกรณ์เชื่อมต่อ (Connector), ระดับความตางศักย์ของไฟฟ้า (Voltage) และอื่นๆ เช่น อธิบายถึงคุณสมบัติของสาย Unshield Twisted Pair (UTP) รวมถึงประเภทของการเชื่อมต่อสายสัญญาน,การเชื่อมต่อลักษณะต่างๆ(Topology) รวมทั้งประเภทของการเชื่อมต่อด้วย โดยขั้นตอนหรือกลไกที่จำเป็นในการส่งสัญญานข้อมูลไปบนสายสัญญานและการรับสัญญานข้อมูลจากสายสัญญาน

สรุปหน้าที่และบริการของระดับชั้น Physical Layer
1.เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติพื้นฐานของการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ
2.ทำหน้าที่แปลงสัญญาน เช่น (0011001110)
3.การวิ่งของสัญญาน(Transmission Mode) (Full-Duplex, Half-Duplex)
4.ตรวจสอบลักษณะการเดินสายสัญญาน(Topology),(Tree, Bus, Star)

2.Datalink Layer
ชั้น Datalink เป็นชั้นที่อธิบายถึงการส่งข้อมูลไปบนสื่อกลาง ชั้นนี้ยังได้ถูกแบ่งออกเป็นชั้นย่อย (SubLayer) คือ Logical Link Control (LLC) และ Media Access Control (MAC) การแบ่งแยกเช่นนี้จะทำให้ชั้น LLC ชั้นเดียวสามารถจะใช้ชั้น MAC ที่แตกต่างกันออกไปได้หลายชั้น ชั้น MAC นั้นเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับแอดเดรสทางกายภาพอย่างที่ใช้ในมาตรฐานอีเทอร์เน็ตและโทเคนริง แอดเดรสทางกายภาพนี้จะถูกฝังมาในการ์ดเครือข่ายโดยบริษัทผู้ผลิตการ์ดนั้น แอดเดรสทางกายภาพนั้นเป็นคนละอย่างกับแอดเดรสทางตรรกะ เช่น IP Address ที่จะถูกใช้งานในชั้น Network เพื่อความชัดเจนครบถ้วนสมบูรณ์ของการใช้ชั้น Data-Link นี้
ตัวอย่าง เช่น คำสั่งในการตรวจสอบข้อผิดพลาดหรือถ้ามีข้อผิดพลาดแล้วต้องส่งข้อมูลใหม่ก็จะมีคำสั่งข้อมูลซ้ำ โดยปกติจะมีบริการ 2 รูปแบบ ได้แก่
2.1 ถ้าหากการตรวจสอบและพบข้อผิดพลาดก็จะแจ้งให้ผู้ส่งทราบ เพื่อทำการส่งใหม่ต่อไป
2.2 ถ้าหากมีการตรวจสอบและพบว่าข้อมูลถูกต้องก็จะแจ้งให้ผู้ส่งทราบว่าได้รับข้อมูลถูกต้อง

สรุปหน้าที่และบริการของระดับชั้น Data Link Layer
1.ตรวจสอบที่อยู่ของเครื่องต่างๆตามหลักกายภาพ (Physical Addressing)
2.ควบคุมการเข้าถึงสื่อกลาง(Access Control)
3.ควบคุมข้อผิดพลาดของ Frame ข้อมูล (Error Control)

3.Network Layer
     ในระดับนี้มีหน้าที่ในการควบคุมวิธีการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครือข่ายให้ถูกต้องและเป็นไปตามเส้นทางที่กำหนดโดยจะจัดเตรียมคำสั่งการทำงานเกี่ยวกับการหาที่หมายปลายทาง
(Addressing)และควบคุมการไหลของข้อมูลในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพืวเตอร์กับเครือข่าย
ในปัจจุบันเมื่อมีการใช้เครือข่ายมากขึ้น ขนาดใหญ่ขึ้น ซับซ้อนมากขึ้นและแน่นอนว่าในการสื่อสารจะต้องการเส้นทางการรับส่งขอ้มูลมากกว่า 1 เส้นทาง ดังนั้นในระดับชั้นนี้จึงมีหน้าที่เลือกเส้นทางที่ใช้เวลาในการสื่อสารน้อยที่สุดระยะทางที่สั้นที่สุดด้วย และกั้นหรือกรอง Packet ข้อมูลที่ส่งไปยังที่หมายภายในเครือข่ายย่อยเดียวกันไม่ให้ข้ามไปยังเครือข่ายย่อยอื่นซึ่งจะช่วยละปริมาณข้อมูลที่จะวิ่งบนเครือข่ายได้ส่วนหนึ่ง โปรโตคอลIP,TCP/IPและIPX เป็นโปรโตคอลที่ทำงานอยู่ในระดับชั้นนี้ ข้อมูลที่รับมาจากระดับชั้นที่ 4 จะถูกแบ่งออกเป็นแพ็กเก็ตๆในระดับชั้นที่ 3 นี้ ( Packetคือ ข้อมุลที่ถูกจัดให้อยู่ในรูปที่กำหนดไว้แล้วนั่นเอง)

สรุปหน้าที่และบริการของระดับชั้น Network Layer
1.ตรวจสอบที่อยู่ของเครื่องต่างๆตามหลักตรรกะ(Logical Addressing)
2.ค้นหาเส้นทางที่ดีที่สุด (Routing)

4.Transport Layer
ในชั้นนี้มีบางโปรดโตคอลจะให้บริการที่ค่อนข้างคล้ายกับที่มีในชั้น Network โดยมีบริการด้านคุณภาพที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ แต่ในบางโปรโตคอลที่ไม่มีการดูแลเรื่องคุณภาพดังกล่าวจะอาศัยการทำงานในชั้น Transport นี้เพื่อเข้ามาช่วยดูแลในเรื่องการควบคุมปริมาณแลรายละเอียดวิธีการรับส่งข้อมูลให้เป็นไปตามกำหนดที่ได้ตั้งไว้และการจัดการให้การเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นไปอย่างราบรื่นคุณภาพแทน เหตุผลที่สนับสนุนการใช้งานชั้นนี้ก็คือ ในบางสถานการณ์ของชั้นในระดับล่างทั้งสาม (คือชั้น Physical, Data-Link และ Network) ดำเนินการโดยผู้ให้บริการโทรคมนาคม การจะเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพให้กับผู้ใช้บริการก็ด้วยการใช้ชั้น Transport นี้
"Transmission Control Protocol (TCP) เป็นโปรโตคอลในชั้น Transport ที่มีการใช้งานกันมากที่สุด"

สรุปหน้าที่และบริการของระดับชั้น Trasport Layer
1.ควบคุมการติดต่อกับปลายทาง(Port Number)
2.ทำการแตกข้อมูลและรวมข้อมูล(Segmentation and Assembly)
3.ควบคุมการไหลและข้อผิดพลาของข้อมูล(Flow and Error Control)

5.Session Layer
ชั้น Session ทำหน้าที่สร้างการเชื่อมต่อ, การจัดการระหว่างการเชื่อมต่อ และการตัดการเชื่อมต่อคำว่า "เซสชัน" (Session) นั้หมายถึงการเชื่อมต่อกันในเชิงตรรกะ (Logic) ระหว่างปลายทางทั้งสองด้าน (เครื่อง 2 เครื่อง) ชั้นนี้อาจไม่จำเป็นต้องถูกใช้งานเสมอไป อย่างเช่นถ้าการสื่อสารนั้นเป็นไปในแบบ "Connectionless" ที่ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อ เป็นต้น ระหว่างการสื่อสารในแบบ "Connection-less" ทุกๆ แพ็กเก็ต (Packet) ของข้อมูลจะมีข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องปลายทางที่เป็นผู้รับติดอยู่อย่างสมบูรณ์ในลักษณะของจดหมายที่มีการจ่าหน้าซองอย่างถูกต้องครบถ้วน ส่วนการสื่อสารในแบบ "Connection Oriented" จะต้องมีการดำเนินการบางอย่างเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อ หรือเกิดเป็นวงจรในเชิงตรรกะขึ้นมาก่อนที่การรับ/ส่งข้อมูลจะเริ่มต้นขึ้น แล้วเมื่อการรับ/ส่งข้อมูลดำเนินไปจนเสร็จสิ้นก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่างเพื่อที่จะตัดการเชื่อมต่อลง ตัวอย่างของการเชื่อมต่อแบบนี้ได้แก่การใช้โทรศัพท์ที่ต้องมีการกดหมายเลขปลายทาง จากนั้นก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่างของระบบจนกระทั่งเครื่องปลายทางมีเสียงดังขึ้น การสื่อสารจะเริ่มขึ้นจริงเมือ่มีการทักทายกันของคู่สนทนา จากนั้นเมื่อคู่สนทนาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งวางหูก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่างที่จะตัดการเชื่อมต่อลงชั้น Sussion นี้มีระบบการติดตามด้วยว่าฝั่งใดที่ส่งข้อมูลซีงเรียกว่า "Dialog Management"
Simple MailTransport Protocol (SMTP), File Transfer Protocol (FTP) และ Telnet เป็นตัวอย่างของโปรโตคอลที่นิยมใช้ และมีการทำงานครอบคลุมในชั้น Session, Presentation และ Application
การให้บริการด้านต่างๆ
5.1 ให้บริการจัดการเรื่องการโต้ตอบข้อมูลซึ่งจะให้บริการทั้งในแบบส่งข้อมูลไม่พร้อมกัน(Half-Duplex) และแบบพร้อมกัน (Full-Duplex)
5.2 การสื่อสารในทิศทางเดียวกัน ในการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายระยะไกลหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นระหว่างการสื่อสารในจุดใดจุดหนึ่ง Session Layer จะอนุญาตให้ผู้ใช้เลือกที่จะทำการรับ - ส่ง ข้อมูลใหม่อีกครั้งในเวลาใดก็ได้
5.3 การรายงานเกี่ยวกับข้อผิดพลาดถ้าในระหว่างการสือ่สารเกิดมีข้อผิดพลาดที่ไม่สามารถแก้ไขได้ Session Layer จะทำการส่งสัญญานเพื่อแจ้งให้ Application รู้ถึงขอ้ผิดพลาดนั้น

สรุปหน้าที่และบริการของระดับชั้น Session Layer
1.ควบคุมการเริ่มต้นการติดต่อและากรสิ้นสุดการติดต่อ(Session Control)
2.ทำให้ความสัมพันธ์เข้าจังหวะและไม่เหลื่อมล้ำกัน (Synchronization)

6.Presentation Layer
ชั้น Presentation ให้บริการจัดรูปแบบและนำเสนอข้อมูลระหว่างการสื่อสารให้เป็นไปตามที่ต้องการ โดยมีการกำหนดรูปแบบการส่งข้อมูลสำหรับใช้ในการเลกเปลี่ยน รูปแบบที่จะมีการกำหนดไว้ใน 2 ลักษณะ คือ
6.1 Abstract Data Syntax เป็นรูปแบบที่ใช้ในการเก็บข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
6.2 Transfer (or Concrete) Syntax เป็นรูปแบบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน
ถ้าหากว่ารูปแบบทั้งสองมีความแตกต่างกัน ก็เป็นหน้าที่ของ Presentation Layer ที่จะทำการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้ใช้มีความเข้าใจได้เวลานำเสนอทั้งนี้ยังรวมไปถึงการจัดแปลงข้อมูลในรูปมาตราฐาน ASCLL หรือ EBCDIC,การลดการลดขนาดข้อมูล(Data Dompression)และการเข้ารหัสหรือถอดรหัสของข้อมูลเพื่อความปลอดภัยในการสื่อสาร

สรุปหน้าที่และบริการของระดับชั้น Presentation Layer
1.การแปลงรูปแบบข้อมูล(Translation Information Format)
2.การเข้ารหัส(Encryption)
3.การบีบอัดข้อมูล(Compression)

7.Application Layer
ชั้น Application เป็นชั้นบนสุดของแบบจำลอง OSI เป็นชั้นที่ใช้บริการของชั้น Presentation (และชั้นอื่นๆ ในทางอ้อมด้วย) เพื่อประยุกต์ใช้งานต่างๆ เช่น การทำ E-mail Exchange (การรับ/ส่งอีเมล์), การโอนย้ายไฟล์ หรือการประยุกต์ใช้งานทางด้านเครือข่ายอื่นๆ นอกจากนั้นยังรวมถึงการบริการทางด้านการแลกเปลี่ยนเอกสารและข้อความต่างๆจะทำหน้าจัดการเรื่องต่างๆของเครือข่ายที่ผู้ใช้ต้องการนั่นเองโดยจะอยู่ระดับบนที่ใกล้ชิดกับผู้ใช้ที่สุด
การบริการของลำดับชั้นนี้จะแสดงให้ผู้ใชเข้าใจได้ในทันที โดยไม่ว่าการสื่อสารจะประสบความสำเร็จหรือไม่และหากมีข้อผิดพลาดประการใดผู้ใช้ก็จะทราบได้จากข้อความทีแสดงออกมา

สรุปหน้าที่และบริการของระดับชั้น Application Layer
1.ติดต่อกับผู้ใช้(User Interface)
2.บริการแลกเปลี่ยนข้อมูล เช่น Mail,FTP, Telnet เป็นต้น

หน่วยของข้อมูลต่างๆ
Frame
หน่วยของข้อมูลในระดับ Datalink Layer
Packet
หน่วยของข้อมูลในระดับ Network Layer
Datagram
หน่วยของข้อมูลในระดับ Network Layer ที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Connectional Less
Segment
หน่วยของข้อมูลในระดับ Transport Layer
Message
ระดับข้อมูลในเหนือ Network Layer มักจะหมายถึงระดับ Application Layer
Cell
หน่วยข้อมูลที่มีขนาดแน่นอนในระดับ Datalink Layer ใช้เป็นหน่วยในลักษณะการส่งข้อมูลแบบสวิตซ์ เช่น Asynchronous Transfer Mode (ATM) หรือ Switched Multimegabit Data Service (SMDS)
Data unit
หน่วยข้อมูลทั่วไป