MPLS - Multiprotocol Label Switching

MPLS เทคโนโลยีใหม่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

MPLS - Multiprotocol Label Switching เป็นโปรโตคอลใหม่ที่ IETF ได้กำหนดขึ้นมา โดยปกติ การทำงานของสวิตช์เราเตอร์จะกระทำภายใต้ IP แพ็กเก็ต โดยมีส่วนหัวที่มีแอดเดรสและข้อมูลอยู่ การดำเนินการสวิตช์โดยใช้ข้อมูลส่วนหัวของ IP อาจล่าช้าเกินไป ทำให้ต้องเสียเวลาในการรับส่ง เพื่อให้การทำงานของสวิตช์และเราเตอร์เร็วขึ้น จึงนำเอา IP แพ็กเก็ต ใส่ลาเบล ซึ่งเป็นส่วนที่ปะหัวข้อมูลอีกครั้ง โดยเน้นให้การสวิตช์ข้อมูลไปในเส้นทางที่กำหนดได้เร็วกว่า

การใช้ MPLS ทำให้มีการสวิตช์ที่แบ็กโบนหลักได้เร็ว และแยกกลุ่มเส้นทางตามที่ต้องการ

การดำเนินการในระบบ MPLS เน้นเรื่องประสิทธิภาพของระบบโดยรวม ดังนั้นที่เราเตอร์ที่ขอบติดกับตัวส่งข้อมูลจะทำการใส่ลาเบลส่วนหัวของแพ็กเก็ตข้อมูล โดยการกำหนดชนิดของข้อมูล ทิศทางแอดเดรสปลายทาง และลำดับความสำคัญของข้อมูลเอาไว้ ส่วนของลาเบลที่ปะไว้ในส่วนหัวมีขนาด 32 บิต เรียกว่า MPLS ลาเบล ส่วนของ MPLS นี้ จะมีข้อมูลที่ทำให้อุปกรณ์เราเตอร์ สวิตช์ ตัดสินใจได้ว่า จะสวิตช์ข้อมูลแบบแพ็กเก็ตเดิมหรือแบบ MPLS เมื่อตรวจดูว่าเป็นแบบ MPLS ก็จะส่งต่อไปยังเส้นทางต่อไป โดยข้อมูลจะได้รับการส่งต่อจนถึงปลายทาง

ข้อเด่นของ MPLS คือ เราเตอร์ระหว่างทางไม่จำเป็นต้องนำข้อมูลของแพ็กเก็ต IP เดิม มาวิเคราะห์หรือตรวจสอบ จึงเป็นการประหยัดเวลา และสวิตช์ได้เร็วขึ้น และการตัดสินใจในระดับต่อ ๆ ไป ก็จะดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ การจัดการในรูปแบบ MPLS เริ่มได้รับการพัฒนาและให้มีการดำเนินการได้ในระบบสวิตช์ชิ่งและเราเตอร์รุ่นใหม่ ๆ

- - - - - - - - - -

MPLS คืออะไร


MPLS หรือชื่อเต็มๆ ว่า Multiprotocol Label Switching เป็นโปรโตคอลใหม่ที่ IETF ได้กำหนดขึ้นมาสำหรับการทำงานรับส่งข้อมูลของสวิตช์เราเตอร์ที่มีการกำหนดเส้นทางไว้ให้ไปถึงจุดหมายได้เร็วขึ้น โดยปกตินั้นการทำงานของสวิตช์เราเตอร์จะกระทำภายใต้ IP แพ็กเก็ต โดยมีส่วนหัวที่มี Address และข้อมูลอยู่ การดำเนินการสวิตช์โดยใช้ข้อมูลส่วนหัวของ IP อาจล่าช้าเกินไป ทำให้ต้องเสียเวลาในการรับส่ง เพื่อให้การทำงานของสวิตช์และเราเตอร์เร็วขึ้น จึงนำเอา IP แพ็กเก็ต(IP Packet) ใส่ลาเบล(Label) ซึ่งเป็นส่วนที่ปะหัวข้อมูลอีกครั้ง โดยเน้นให้การสวิตช์ข้อมูลไปในเส้นทางที่กำหนดไว้ได้เร็วกว่า

บริการ Internet บนโครงข่าย MPLS ทำงานอย่างไร

การทำงานของ MPLS เพื่อให้บริการ Internet นั้นจะทำงานโดยใช้ IP Packet ที่เพิ่มขั้นตอนการจัดหาเส้นทางก่อนที่จะทำการส่ง packet ต่อไปยังอุปกรณ์ที่ติดกัน ทำให้ลดกระบวนการต่างๆในการส่งข้อมูลลงคล้ายกับการส่งข้อมูลด้วยสวิตซ์ จึงทำให้เกิดการเข้าถึงข้อมูลบน โครงข่าย Internet มีความเร็วสูงขึ้น

จุดเด่นของ MPLS คืออะไร


ข้อดี คือ เราเตอร์ระหว่างทางไม่จำเป็นต้องนำข้อมูลของแพ็กเก็ต IP เดิม มาวิเคราะห์หรือตรวจสอบ จึงเป็นการประหยัดเวลา และสวิตช์ได้เร็วขึ้น และการตัดสินใจในระดับต่อ ๆ ไป ก็จะดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบมากขึ้น

การดำเนินการในระบบ MPLS นั้นเน้นเรื่องการลดขั้นตอนการประมวลผลของอุปกรณ์และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโดยรวม ดังนั้นอุปกรณ์เราเตอร์(Router)ที่เป็นตัวส่งข้อมูลจะทำการใส่ลาเบล(Label)ส่วนหัวของแพ็กเก็ตข้อมูล โดยการกำหนดชนิดของข้อมูล ทิศทางแอดเดรส(Address)ปลายทาง และลำดับความสำคัญของข้อมูลเอาไว้ ส่วนของลาเบล(Label)ที่ปะไว้ในส่วนหัวมีขนาด 32 บิต เรียกว่า MPLS ลาเบล(Label) ส่วนของ MPLS นี้ จะมีข้อมูลที่ทำให้อุปกรณ์เราเตอร์สวิตช์(Router Switch) ตัดสินใจได้ว่า จะสวิตช์ข้อมูลแบบแพ็กเก็ตเดิมหรือแบบ MPLS เมื่อตรวจดูว่าเป็นแบบ MPLS ก็จะส่งต่อไปยังเส้นทางต่อไป โดยข้อมูลจะได้รับการส่งต่อจนถึงปลายทางในที่สุด หรือ หากจะอธิบายให้เห็นภาพการทำงานของ MPLS ได้ง่ายขึ้นก็สามารถเปรียบเทียบการทำงานเหมือนกับการส่งพัสดุที่เราทุกคนต้องการที่จะมั่นใจได้ว่าพัสดุของเรานั้น ถึงที่หมายอย่างปลอดภัย ทันเวลา และอยู่ในสภาพที่ดีครบถ้วนเหมือนตอนที่ส่งไปจากเรา ทั้งนี้โดยมากแล้วก็จะมีการติดป้ายหรือสติ๊กเกอร์ลงไปที่กล่องพัสดุว่า “ห้ามทับ”, “ระวังแตก” หรือ “ห้ามโยน” ซึ่งจะบอกกับกับทุกคนว่าต้องทำอย่างไรกับสิ่งของเหล่านั้น

จากหลักการทำงานที่เป็นระบบดังกล่าวนี้ ทำให้บริการ Internet บนโครงข่าย MPLS เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัย