รู้จักปฏิเสธให้เป็น

รู้จักปฏิเสธให้เป็น

work - life balance คำนี้เกิดขึ้นมาเพราะอยากให้ชีวิตมนุษย์ทำงาน
สามารถรักษาสมดุลชีวิตของตัวเองเอาไว้ได้ ไม่ใช่ทุ่มเทไปกับการทำงานทั้งหมดจนไม่มีเวลา
ใช้ชีวิตส่วนตัวของตัวเอง การอยากให้คนอื่นมีความสุขนั้นไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดี ไม่ใช่เรื่องผิดที่จะตอบรับคำขอร้องคนอื่น หากการทำตามคำขอร้องนั้นแล้วมันสามารถเติมเต็มความสุขของคนอื่นรวมไปถึงตัวเราเองด้วย การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การเป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับนั้นเป็นสิ่งดี เพียงแต่ว่าถ้าบางครั้งเรารู้สึกเหมือนถูกบังคับ
ให้เป็นที่พึ่งของคนอื่นอยู่ตลอดเวลา ทำงานเป็นบ้าเป็นหลังแต่ก็ยังรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง เหน็ดเหนื่อยไม่รู้สึกว่าตัวเองได้เข้าใกล้เป้าหมาย
ในชีวิตของตัวเองเลยต้องเจียดเวลาจากสิ่งที่สำคัญ
มากกว่าเพื่อคนอื่นแล้วล่ะก็ ถึงเวลาที่เราต้องวางจุดยืนเสียใหม่ ลดความรู้สึกที่มีต่อความต้องการของคนอื่นแล้ว
หันมามองความจำเป็นของตนเองดูเสียบ้าง

ปรับเปลี่ยนวิธีคิดรวมทั้งการกระทำของตัวเองใหม่ 
และ “รู้จักปฎิเสธให้เป็น” ถึงแม้ว่ามันจะดูเหมือนเป็นโอกาสที่ต้องคว้าไว้ให้ได้ แต่จำไว้เสมอว่ามันจะมีตัวเลือกอื่น มีงานอื่น ประชุมอื่น หัวข้ออื่น หรือแม้กระทั่งปัญหาอื่นๆ ให้แก้ ทุกอย่างยังมีตัวเลือกอื่นเสมอ หากคุณไม่ให้เวลากับสิ่งที่จำเป็นจริงๆ ในชีวิต เช่น การนอน การพักผ่อน หรือเวลาให้กับคนสำคัญแล้วล่ะก็ คุณจะพลาดสิ่งสำคัญในชีวิตจริงๆ ของคุณไป

จะช่วยใคร จงแน่ใจว่ามีเวลาทำจริงๆ

การช่วยเหลือไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่ถ้าทัศนคตินี้ทำให้คุณต้องแบกรับภาระมากเกินไป
จนไม่สามารถโฟกัสกับงานที่สำคัญที่สุดได้ นั่นคือคุณกำลังทำลายความรับผิดชอบที่สมควร
จะมีของคุณถ้าคุณจัดอยู่ในพวกมนุษย์ที่มีพลังงาน
ล้นเหลือ ชอบให้บริการ มักตอบสนองต่อการร้องขอทุกอย่างด้วยคำว่า “แน่นอน, ทำได้อยู่แล้ว” หรือในเวลาที่มีการประชุมและมีใครบางคน
ต้องการอาสาสมัคร มักจะเห็นมือคุณชูขึ้นมาเสมอ แม้กระทั่งเวลาที่ไม่มีใครขอ แต่คุณรู้ว่าเขาต้องการความช่วยเหลือ คุณก็เข้าไปเสนอตัวที่จะช่วย  การที่ต้องการจะแสดงความช่วยเหลือนั้นไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่ถ้าทัศนคตินี้ทำให้คุณต้องแบกรับภาระมากเกินไป
จนไม่สามารถโฟกัสกับงานที่สำคัญที่สุดได้ นั่นคือคุณกำลังทำลายความรับผิดชอบ
ที่สมควรจะมีของคุณ 

หนทางที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อไม่ให้รับภาระมากเกินไปคือถามตัวเองว่า “มีเวลาที่จะทำจริงๆ หรือเปล่า” ถ้าคำตอบคือ “ใช่” ก็ทำไป แต่ถ้า “ไม่” และยังไม่พร้อมที่จะสละงานบางอย่างที่มีอยู่เดิมแล้วล่ะก็ คุณต้องตัดใจจากการยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือแล้วล่ะ

ในหลายๆ สถานการณ์ มักจะมีคนอื่นที่ทำแทนคุณได้เสมอ แต่ถ้าคุณยังไม่สามารถต้านทานความรู้สึกนั้นได้ล่ะก็ เราแนะนำให้คุณเอาตัวเองออกไปให้ไกลจากจุดนั้น เพื่อจะได้ไม่ต้องรับรู้ถึงทุกปัญหาที่เกิดขึ้น

เปลี่ยนความคิด สร้างกรอบการทำงานของตัวเอง
ขึ้นมา จัดลำดับความสำคัญของงานเสียใหม่ อะไรที่ไม่ใช่งานของเราแต่มีคนมาร้องขอให้ช่วยเหลือ ถ้ามันมากเกินความสามารถของเราก็ต้องรู้จัก “ปฎิเสธให้เป็น”

จะปฏิเสธอย่างไรดี?

ตั้งคำถามกับตัวเอง "ฉันต้องการจะทำจริงๆ ใช่ไหม?"

คำถามนี้จะช่วยตอกย้ำความคิดว่าเราอยากจะทำจริงๆ คิดไตร่ตรองด้วยเหตุผลหลายๆ รอบแล้วอาจพบว่างานที่เรามีเยอะอยู่แล้ว ถ้าเรารับมาอีกจะทำให้ชีวิตส่วนตัวของเราหายไป เป็นต้น

แต่หากเรายังไม่แน่ใจว่าเราจะตอบอย่างไร การขอเวลาคิดเพิ่มเติมก็ไม่ใช่เรื่องผิด บอกพวกเขาว่า เราต้องการใช้เวลาคิดเกี่ยวกับมันเพื่อให้แน่ใจว่ามันเป็นอะไรที่เราสามารถทำได้จริงๆ พวกเขาจะเข้าใจและนึกขอบคุณที่เราสนใจ จงใส่ความคิดลงไปในการตัดสินใจเสมอ ก่อนที่จะเอ่ยปากตอบกับคนที่ต้องการความช่วยเหลือ คำตอบที่ออกไปจะเป็นคำตอบที่ซื่อสัตย์ 

ถ้ามั่นใจแล้วว่าไม่ไหวจริงๆ นี่เป็นแนวทางการตอบปฏิเสธที่เราจะแนะนำ

"ฉันอาจจะไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับปัญหานี้ เอาอย่างนี้ ลองไปถาม (ชื่อคน) ดูหน่อยไหมว่าเขาช่วยได้หรือเปล่า?"
• ฉันไม่สามารถช่วยได้ตอนนี้ เพราะติดงานอื่นที่สำคัญกว่าอยู่่

หากเรายุ่งเกินไปที่จะตอบรับการขอร้องนั้น ก็บอกไปว่าทำไม่ได้เพราะแผนการทำงานของเรา
เต็มเอี๊ยดแล้วถ้าเป็นไปได้ก็ทำให้เขารับรู้ด้วย
ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่บ้างเป็นการปฏิเสธ
โดยแสดงเหตุผลควบคู่กันไป

• ตอนนี้ไม่สะดวกเท่าไหร่ ฉันกำลังทำงานบางอย่างอยู่ เดี๋ยวเราค่อยคุยกันใหม่ (บอกเวลา) ได้ไหม?

เป็นเรื่องปกติที่เราจะตอบรับคำขอร้องทันที บางครั้งก็ตอบรับไปโดยไม่ได้คิดด้วยซ้ำ หากเรากำลังทำงานบางอย่างอยู่ จงตอบรับแบบข้อนี้ ประโยคแรกเพื่อบอกว่ามันไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม
ที่เราจะทำอะไรอย่างอื่นนอกจากงานตรงหน้า ประโยคต่อมาเป็นการแจ้งให้เขาทราบว่าเราปรารถนาที่จะช่วยโดยบอกเวลาที่เราว่างออกไป ผู้ที่มาขอความช่วยเหลือก็จะไม่รู้สึกเหมือนโดน
ปฏิเสธอย่างไม่เหลือเยื่อใย

• ฉันอยากจะช่วยนะ แต่...

ออกจะเป็นวิธีที่นุ่มนวล มันเป็นการบอกนัยๆ ว่า เราอยากจะช่วยเหลือจริงๆ แต่ไม่สามารถมีส่วนร่วมได้เนื่องจากเหตุผล (อื่นๆ) ที่เรารู้สึกจริงๆ เช่น ความต้องการที่แตกต่างกัน หรือเวลาที่ไม่เพียงพอสำหรับจัดการทุกอย่าง

• ขอคิดดูก่อนแล้วจะรีบตอบกลับว่าช่วยได้ไหมนะ

เหมือนจะเป็นการบอกว่า "อาจจะ" มากกว่า "ไม่" หรือ "ใช่" คิดทบทวนให้แน่ใจก่อนที่จะตัดสินใจตอบออกไป และระบุช่วงเวลาให้คำตอบกลับไปด้วยซึ่งไม่ควรเกิน 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับว่าเรื่องนั้นเร่งด่วนมากเพียงใด

• ฉันอาจจะไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับปัญหานี้ เอาอย่างนี้ ลองไปถาม (ชื่อคน) ดูหน่อยไหมว่าเขาช่วยได้หรือเปล่า?

หากมีการร้องขอในสิ่งที่เราไม่สามารถมีส่วนร่วมได้ ไม่ได้มีทรัพยากรที่เขากำลังมองหา ฉันช่วยอะไรเขาไม่ได้เลย พวกเขากำลังมาหาผิดคน! จงบอกไปตามตรงและช่วยแนะนำเขาว่าจะไปหาคนที่
ให้ความช่วยเหลือได้ที่ไหนเป็นการแสดงความช่วย
เหลือเล็กน้อยที่เป็นประโยชน์มาก

• ขอโทษนะ แต่ฉันไม่สามารถช่วยได้จริงๆ

เป็นวิธีที่ตรงที่สุดที่จะเอ่ยปากบอกไป เราสร้างอุปสรรคขึ้นมามากมายในใจของเรา
ที่จะไม่พูดคำว่า"ไม่"ออกไปผลที่ออกมาอาจทำให้เรา
ประหลาดใจเมื่อมันไม่ได้เลวร้ายอย่างที่เราคิดไว้

• • •

เรียนรู้ที่จะปฏิเสธในสิ่งที่เราไม่สามารถทำให้ได้ด้วย
การคิดอย่างมีเหตุมีผล ลำดับความสำคัญของงาน ดูตารางเวลาของเราให้ดี รักษา work - life balance เอาไว้เมื่อเราทำสำเร็จในครั้งหนึ่งเราก็จะพบว่า
ไม่ได้ยากเกินไปที่จะตอบปฏิเสธ เราจะมีเวลามากขึ้นสำหรับตัวเองในการทำงานและสิ่งสำคัญต่างๆ ในชีวิต อย่างไรก็ตาม เมื่อเรารู้จักที่ปฏิเสธเป็นแล้วก็อย่าได้นำคำว่า "ได้" ออกจากพจนานุกรมคำศัพท์ของเราเสียล่ะ การที่เรารู้สึกสบายใจมากขึ้นทุกครั้งที่พูดคำว่า "ไม่" แนวโน้มของการที่คนอื่นจะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเราก็อาจจะน้อยลงเช่นกัน ใช้คำว่า "ได้" และ "ไม่" ให้พอเหมาะเพื่อความสมดุลของชีวิตกันดีกว่า

ที่มา: http://incquity.com/articles/learn-howto-say-no
Cr : http://semsikkha.org
Cr : photo th.jobsdb.com