QoS (Quality of Service)

     QoS (Quality of Service) หรือคุณภาพการให้บริการ มีไว้เพื่อเป็นการส่งข้อมูลบนเครือข่ายโดยมีการรับประกันว่าการส่งข้อมูลของบริการหนึ่งจะเป็นไปตามคุณภาพ และเงื่อนไขทางเทคนิคที่บริการนั้นต้องการ ตัวอย่างของความต้องการที่กล่าวถึง คือ Bandwidth Packet loss Delay และ Jitter ซึ่งความต้องการต่างๆหล่านี้ก็จะแตกต่างกันไปตามลักษณะของบริการ

      Bandwidth (Throughput) ของเครือข่ายสื่อสารที่ให้บริการนั้น นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากสิ่งหนึ่ง ถ้าแบนด์วิดท์ไม่เพียงพอกับความต้องการแล้ว จะทำให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วที่ต้องการได้
Packet loss ในรูปแบบต่างๆไม่ว่าจะเกิดขึ้นจาก Error rate ในระบบเครือข่าย ข้อมูลที่สูญหายซึ่งอาจจะเกิดจากปัญหาภายในเครือข่าย เช่น การไม่ทำงานของอุปกรณ์สื่อสารบางตัว หรือการรับส่งที่ผิดพลาด หรือมีการส่งข้อมูลมากจนทำให้เกิดบัฟเฟอร์เต็ม สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวสะท้อนคุณภาพเครือข่ายได้ว่ามีคุณภาพดีเพียงใด

     Delay หรือเวลาที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง หรือบางครั้งเรียกว่า Latency ซึ่งอาจจะเกิดได้ทั้งจากระยะทาง เส้นทางที่ใช้ในการส่งข้อมูล และความเร็วในการส่งข้อมูลของเครือข่าย เช่น การใช้งาน VoIP เวลาที่ใช้ในการรับส่งถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการมี delay นั้นหมายถึงการรับฟังเสียงจะไม่ต่อเนื่อง และไม่เป็นธรรมชาติ

     Jitter เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้กับเครือข่ายแบบ packet switching หรือ Packet Network เพราะว่าข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นแพ็กเกตแล้วส่งออกไป ซึ่งอาจจะมีการใช้งานเส้นทางที่ต่างกันได้ และเนื่องจากเส้นทางที่ต่างกันก็จะทำให้เกิดการ delay ที่ต่างกันไป และการที่มี delay ของส่วนต่างๆของข้อมูลที่ต่างกันจะเรียกว่า Jitter ซึ่งก็จะส่งผลต่อการรับข้อมูล เช่น การรอคอยข้อมูลให้ครบเพื่อที่จะประกอบเข้าด้วยกัน หรืออาจจะทำให้ข้อมูลนั้นเสียหายได้

     QoS มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ
     Prioritization เป็นการจัดลำดับความสำคัญ คือข้อมูลที่มีความสำคัญมากจะได้รับการส่งก่อน การเลือกระดับความสำคัญจะเป็นไปตามชนิดของข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งการส่งข้อมูลที่ต้องการ delay น้อย ๆ จะมีระดับความสำคัญสูง บางครั้งการทำงานแบบ Prioritization อาจจะเรียกว่า Class-of-Service (CoS) เพราะแพ็คเกตจะถูกแบ่งออกเป็นคลาส หรือระดับความสำคัญ ข้อมูลในคลาสเดียวกันจะมีความสำคัญเท่ากัน และใช้ทรัพยากรทั้งหมดร่วมกัน

      Reservation หลักการคือการรับประกันด้วยวิธีจองทรัพยากรของเครือข่าย ก่อนที่จะเริ่มส่งข้อมูล ทรัพยากรที่จำเป็นต้องจองก็คือ บัฟเฟอร์ แบนด์วิดธ์ และ delay โดยจะเน้นไปที่การหาขนาดของบัฟเฟอร์และแบนด์วิดธ์ที่เหมาะสมที่จะรักษา delay ระหว่างต้นทางไปยังปลายทางไม่ให้เกินที่กำหนด โดยสามารถแบ่งประเภทของ delay ออกมาได้ 4 แบบ คือ
1.Queueing Delay คือ delay ที่เกิดจากการรอคิวส่ง
2. Processing Delay คือ delay ที่เกิดจากการประมวลผล
3. Transmission Delayคือจำนวนของเวลาในการส่ง bit ทั้งหมดของ packet ลงไปใน media
4. Propagation Delay คือ delay ของสื่อที่ใช้ส่งข้อมูล