ระบบจัดการฐานข้อมูล

ฐานข้อมูล (Database)
     เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบงานที่นำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน เช่น งานทางด้านวิศวกรรม การแพทย์ การศึกษา วิทยาศาสตร์และงานด้านธุรกิจ เป็นต้น ถ้าพิจารณาความหมายของข้อมูล (Data) ก็จะพบว่าข้อมูล หมายถึง ความจริงที่เกี่ยวกับสิ่งของ มนุษย์ และเหตุการณ์ต่างๆ เมื่อนำมาเก็บรวบรวมไว้ เราจึงสามารถกล่าวได้ว่า ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดเก็บข้อมูลอย่างมีระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลในลักษณะต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การนำข้อมูลมาแก้เพิ่มเติม การลบข้อมูล การเรียกข้อมูล เป็นต้น
ความหมายของฐานข้อมูล (Database)
     ฐานข้อมูลประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งถูกนำมาใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น ด้านทะเบียนนักศึกษา จะมีฐานข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา ข้อมูลฝากเงิน ข้อมูลการให้สินเชื่อ หรือข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า จะมีข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าหนี้การค้า ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงคลังเป็นข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บอย่างมีระบบเพื่อประโยชน์ในการจัดการและ การเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล
     ระบบฐานข้อมูลส่วนใหญ่เป็นระบบที่มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยใน การจัดเก็บ โดยมีโปรแกรม Software ช่วยในการจัดการข้อมูลเหล่านี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่ผู้ใช้ต้องการ องค์ประกอบของฐานข้อมูลแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ในระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพควรมีฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ที่พร้อมจะอำนวยความสะดวกในการบริหารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นความเร็วของหน่วยประมวลผลกลาง ขนาดของหน่วยความจำหลัก อุปกรณ์นำเข้าและออกข้อมูล รายงานหน่วยความจำสำรองที่จะรองรับการประมวลผลข้อมูลในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ซอฟต์แวร์ (Software) ในการประมวลผลข้อมูลอาจจะใช้ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ว่าเป็นแบบใด โปรแกรมจะทำหน้าที่ดูแลการสร้าง การเรียกใช้ข้อมูลการจัดทำรายงาน การปรับเปลี่ยน แก้ไข โครงสร้างการควบคุม หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างว่าระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS) คือ โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่มีอยู่ในฐานข้อมูล ตัวอย่างเช่น DBASE IV, EXCEL , ACCESS , INFORMIX , ORACLE เป็นต้น

3. ข้อมูล (Data) ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นศูนย์กลางข้อมูลอย่างมีระบบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถเรียกใช้ร่วมกันได้ ผู้ใช้ข้อมูลในระบบฐานข้อมูลจะมองภาพข้อมูลในลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น ผู้ใช้บางคนมองภาพของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บได้ในสื่อข้อมูล ผู้ใช้
บางคนมองภาพข้อมูลจากการใช้งาน เป็นต้น

4. บุคลากร (People) ในระบบฐานข้อมูลจะมีบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
     4.1 ผู้ใช้ทั่วไป (User) หมายถึง บุคลากรที่ใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงได้

     4.2 พนักปฏิบัติการ (Operator) หมายถึง ผู้ปฏิบัติการด้านการประมวลผลการป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์

     4.3 นักเขียนโปรแกรม (Programmer) หมายถึง ผู้ที่มีหน้าที่เขียนโปรแกรมประยุกต์ใช้งานต่างๆ เพื่อให้จัดเก็บข้อมูล การเรียกใช้ข้อมูลเป็นไปตามต้องการของผู้ใช้

     4.4 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst) หมายถึง บุคลากรที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ระบบฐานข้อมูล และออกแบบระบบงานที่จะนำมาใช้

     4.5 ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator) หมายถึง บุคลากรที่ทำหน้าที่บริการและควบคุมการบริหารงานของระบบฐานข้อมูล ทั้งหมดเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะรวบรวมข้อมูลอะไรเข้าในระบบ จัดเก็บโดยวิธีใด เทคนิคการเรียกใช้ข้อมูล กำหนดระบบวิธีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การสร้างระบบข้อมูลสำรอง การกู้และประสานงานกับผู้ใช้ว่ามีความต้องการใช้ข้อมูลอย่างไร รวมถึงการวิเคราะห์และการออกแบบระบบ เพื่อให้นักเขียนโปรแกรมนำไปเขียนโปรแกรมที่ใช้ในการบริหารงานระบบฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     5. ขั้นตอนปฏิบัติงาน (procedure) ในระบบฐานข้อมูลที่ดีจะต้องมีการจัดทำเอกสารที่ระบุขั้นตอนการทำงานของหน้าที่ต่างๆ ระบบฐานข้อมูลทั้งในสภาวะปกติ และในสภาวะที่ระบบเกิดขัดข้องมีปัญหา ซึ่งเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานสำหรับบุคลากรในทุกระดับขององค์กร



ชนิดของฐานข้อมูล
     ในระบบฐานข้อมูลแบ่งหน่วยของข้อมูลหลายระดับ ดังนี้

     - บิต (BIT) หมายถึง หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด แทนค่า ด้วย 0 หรือ 1

     - ไบท์ (Byte) หมายถึง หน่วยข้อมูลที่นำขบวนของบิตที่รวมกันแทนตัวอักษร

     - ฟิลด์ (Field) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบด้วยหลายตัวอักษร เพื่อแทนความหมายของข้อมูล เช่น รหัสนิสิต ชื่อนักเรียน เป็นต้น

     - เรคคอร์ด (Record) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่นำเอาฟิลด์ หลายๆ ฟิลด์มารวมกัน แสดงรายละเอียดของข้อมูลหนึ่งๆ เช่น ประวัตินักศึกษา ประกอบด้วย รหัสนักศึกษา ชื่อนักศึกษา นามสกุล วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ เป็นต้น

     - แฟ้มข้อมูล (File) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากากรรวมกันของเรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ด

คำศัพท์ของฐานข้อมูล
     เอนทิตี้ (Entity) ใช้แทนความจริงเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับความเป็นอยู่ อาจบอกเกี่ยวกับความเป็นอยู่ทางกายภาพ เช่น เกี่ยวกับบุคคล รถยนต์ บ้าน หรือลูกค้า หรืออาจบอกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ภายในหน่วยงานหรือวิชาเรียน ซึ่งบางครั้งเอนทิตี้ในบางเอนทิตี้จะไม่มีความหมาย หากไม่มีเอนทิตี้อื่นในฐานข้อมูล เช่น เอนทิตี้ประวัติครอบครัวนักศึกษาจะไม่มีความหมาย ถ้าไม่มีเอนทิตี้ของนักศึกษาคนใด เอนทิตี้ ประเภทนี้เรียกอีกอย่างว่า เอนทิตี้ชนิดอ่อนแอ (Weak Entity)
     แอททริบิวต์ (Attibute) หมายถึง รายละเอียดของข้อมูลในเอนทิตี้ เช่น เอนทิตี้นักศึกษา ประกอบด้วย แอททริบิวต์รหัสนักศึกษา ชื่อ สกุล โปรแกรมวิชา คณะ หรือแอนทิตี้ พนักงาน ประกอบด้วยแอททริบิวต์รหัสพนักงาน ชื่อ เงินเดือน เป็นต้น แอททริบิวต์บางแอททริบิวต์ ประกอบด้วย ข้อมูลหลายส่วนรวมกัน ซึ่งอาจแยกย่อยเป็นแอททริบิวต์ได้อีก ซึ่งแอททริบิวต์ที่มีคุณสมบัติแบบนี้ เรียกว่า

     แอททริบิวต์แบบผสม (composite Atteibute) ตัวอย่างเช่น แอททริบิวต์ประกอบด้วยข้อมูล บ้านเลขที่ ถนน ซอย อำเภอ จังหวัด รหัสไปรษณีย์ สามารถแยกย่อยเป็น แอททริบิวต์ที่อยู่ 1 ประกอบด้วย ข้อมูล บ้านเลขที่ ถนน ซอย อำเภอ แอททริบิวต์ที่ 2 ประกอบด้วย จังหวัด รหัสไปรษณีย์ เป็นต้น

     นอกจากนี้ยังมีแอททริบิวต์ที่ไม่มีความหายในตัวเอง แต่สามารถหาค่าได้จากแอททริบิวต์อื่น ๆ เช่น แอททริบิวต์อายุ สามารถคำนวณจากแอททริบิวต์วันเดือนปีเกิด เป็นต้น ซึ่งแอททริบิวต์ที่มีคุณสมบัติอย่างนี้เรียกว่า แอททริบิวต์ที่ถูกแปลค่ามา (Derived Attrebute)

     ทูเพิล (Tuple) หมายถึง ค่าของข้อมูลในแต่ละแถว (Row) หรือเรียกว่า เรคคอร์ด (Record)

     คาร์ดินาลลิตี้ (Cardinality) หมายถึง จำนวนแถวของข้อมูลในแต่ละรีเลชั่น

     ดรรชนีหลัก (Primary Key) หมายถึง แอททริบิวต์ที่มีค่าของข้อมูลเฉพาะเจาะจง และจะเป็นค่าที่ไม่ซ้ำกับทูเพิล

     โดเมน (Domain) หมายถึง ขอบเขตค่าของข้อมูลที่ควรจะเป็นในแต่ละแอททริบิวต์

รูปแบบของฐานข้อมูล แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

     1. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Datdbase)
     2. ฐานข้อมูลแบบเชิงลำดับขั้น (Hierarchical Database)
     3. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)

ความสัมพันธ์ (Relationships) หมายถึง คำกริยาที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสองเอนทิตี้ เช่น เอนทิตี้นักศึกษาและเอนทิตี้โปรแกรมวิชามีความสัมพันธ์ในด้าน “เป็นนักศึกษาสังกัดอยู่” นั่นคือ นักศึกษาแต่ละคนสังกัดอยู่ในโปรแกรมวิชาใดวิชาหนึ่ง

ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้
     ในการระบุชื่อความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ จะพิจารณาด้วยการกำหนดทิศทางของความสัมพันธ์จากเอนทิตี้หนึ่งไปยังเอนทิตี้หนึ่งว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร เช่น ความสัมพันธ์จากเอนทิตี้นักศึกษาไปแต่ละคนสังกัดอยู่ในโปรแกรมวิชาเป็นความสัมพันธ์ที่เรียกว่า “สังกัดอยู่” นั่นคือนักศึกษาแต่ละคนสังกัดอยู่ในโปรแกรมวิชาในทางกลับกัน อาจจะระบุทิศทางของความสัมพันธ์ว่า ความสัมพันธ์จากเอนทิตี้โปรแกรมวิชาไปยังเอนทิตี้นักศึกษา เป็นความสัมพันธ์ที่เรียกว่า “ประกอบด้วย” นั่นคือแต่ละโปรแกรมวิชาประกอบด้วยนักศึกษา

     นอกจากคำนึงถึงความสัมพันธ์แล้ว ยังต้องพิจารณาถึงจำนวนข้อมูล ที่เกิดขึ้นระหว่างความสัมพันธ์ของทั้งสองเอนทิตี้ว่ามีค่าเท่าไร (Cardinality Ratio) เช่น ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้นักศึกษาไปยังเอนทิตี้โปรแกรมิชาเป็นอัตราส่วน 1 : 1 นั่นคือ นักศึกษาแต่ละสังกัดอยู่โปรแกรมวิชาเพียงโปรแกรมวิชาเป็นอัตราส่วน 1 : 30 นั่นคือแต่ละโปรแกรมวิชาจะประกอบด้วยนักศึกษา 30 คนเป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ 2 เอนทิตี้

     1. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One - to - One Relationships) เป็น การแสดงความสัมพันธ์ เอนทิตี้หนึ่งว่ามีความสัมพันธ์กับเอนทิตี้หนึ่งในลักษณะที่เป็นหนึ่งต้องหนึ่ง เช่น นักศึกษาแต่ละคนสังกัด โปรแกรมวิชาได้เพียงโปรแกรมวิชาเดียวเท่านั้น

     2. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One - to - many Relationships) เป็น การแสดงความสัมพันธ์ของเอนทิตี้หนึ่งว่ามีความสัมพันธ์กับข้อมูลหลายข้อมูลของเอนทิตี้หนึ่ง เช่น ความสัมพันธ์ของนักศึกษากับการลงทะเบียนนักศึกษาหนึ่งคนสามารถลงทะเบียนได้หลายสาขา

     3. ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many - to - Many Relationships) เป็ น การแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลสองเอนทิตี้ ในลักษณะแบบกลุ่มต่อกลุ่ม เช่น ในเอนทิตี้ การลงทะเบียนแต่ละครั้งสามารถลงทะเบียนได้หลายรายวิชา ความสัมพันธ์ของนักศึกษาไปยังเอนทิตี้รายวิชาเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1: N) และแต่ละรายวิชาถูกลงทะเบียนได้จากนักศึกษาหลายคน ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ของเอนทิตี้รายวิชาไปยังเอนทิตี้นักศึกษาเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1: M) ดังความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ทั้งสองจึงเป็นแบบกลุ่มต่อกลุ่ม (N: M)

ระบบจัดการฐานข้อมูล คือ ระบบโปรแกรมที่มีความสามารถในการจัดการข้อมูลใน ด้านต่างๆ ได้แก่ การให้คำจำกัดความของข้อมูลและเรคคอร์ด การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างฟิลด์ต่าง ๆ ในเรคคอร์ดการจัดการประมวลผล ปรับเปลี่ยนแก้ไขข้อมูล และจัดการกำหนดควบคุมการใช้ข้อมูลอย่างมีระบบ

จุดมุ่งหมายสำคัญของระบบจัดการฐานข้อมูลจำแนกออกได้เป็น 2 ด้าน คือ เพื่อจัดการควบคุมและสนับสนุนการใช้งานขององค์กรอย่างเป็นระบบ

องค์ประกอบของระบบจัดการฐานข้อมูล
     ระบบจัดการฐานข้อมูลจำแนกเป็นย่อยๆ ได้หลายส่วน โดยแต่ละส่วนจะทำงานร่วมกันได้ หรือในบางกรณีอาจเป็นงานเฉพาะส่วนย่อยๆ จากภาพประกอบแสดงองค์ประกอบหลักของระบบจัดการฐานข้อมูล สัญลักษณ์รูปทรงกระบอกแสดงองค์ประกอบต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นตัวระบบจัดการฐานข้อมูลทั้งหมด ได้แก่

Authorized User Profiles AUP เป็นองค์ประกอบด้านการจัดการควบคุมตัวผู้ใช้ระบบใครสามารถอ่านข้อมูลชุดใดได้ เช่น การกำหนดรหัสผ่าน (password) ให้กับผู้ใช้ระดับต่างๆ ในองค์กร

Catalogued Queries/Report/Lable (CQRL) เป็นส่วนที่ควบคุมจัดการด้าน การเลือกค้นหาข้อมูลที่ต้องการ การทำรายงานตารางสรุปต่างๆ ซึ่งจะจัดตามคำร้องขอของผู้ใช้ระบบและออก Output ที่ต้องการ

Transaction and Screen Definition เป็นชุดโปรแกรมที่ควบคุมจัดการด้านการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ทางจอภาพ หรือทำตามคำขอต่างๆ ของผู้ใช้ระบบ

User’s Application Program เป็นชุดโปรแกรมเฉพาะด้าน สร้างเพื่อใช้งานเฉพาะภายในหน่วยงานหนึ่งในองค์การ หรือตามความต้องการเฉพาะด้านของผู้ใช้ระบบในบางระดับ

Data Definition และ Store Database เป็นส่วนสำคัญที่สุดของระบบเป็นส่วนที่เก็บ Data dictionary และตัวข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ

หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล

     1. ช่วยกำหนด และเก็บโครงสร้างฐานข้อมูล (Define and Store Database Structure)

     2. ช่วยดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล (Load Database) ข้อมูลที่นำมาประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบจัดการฐานข้อมูลจะทำการรับและเก็บข้อมูลไว้ในข้อมูลเพื่อใช้ใน การประมวลผล

     3. ช่วยเก็บและดูแลข้อมูล (Store and Maintain Data) ข้อมูลที่เก็บในฐานข้อมูลจะถูกเก็บรวบรวมได้ด้วยกัน โดยมีระบบจัดการฐานข้อมูลเป็นผู้ดูแลรักษาข้อมูลเหล่านั้น

     4. ช่วยประสานงานกับระบบปฏิบัติการ (Operating System) เนื่องจากคอมพิวเตอร์ต้องพึ่งระบบปฏิบัติการช่วยเพื่อให้ทำงานได้ ดังนั้นระบบปฏิบัติการจะคอยควบคุมการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ระบบจัดการฐานข้อมูลจะทำการประสานงานกับระบบปฏิบัติการในการเรียกใช้ แก้ไขข้อมูล ลบข้อมูล ออกรายงาน

     5. ช่วยควบคุมความปลอดภัย (Security Control) ในระบบการจัดการฐานข้อมูลจะมีวิธีควบคุมการเรียกใช้ข้อมูล หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้ใช้ในระบบจะมีวิธีควบคุมการเรียกใช้ข้อมูล หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้ใช้ในระบบซึ่งสามารถเรียกข้อมูลมาแก้ไขได้แตกต่างกัน เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับฐานข้อมูล
     6. ช่วยจัดทำสำรองข้อมูลและการกู้คืน (Backup and Recover) ในระบบจัดการฐานข้อมูลจะทำการสำรองข้อมูลของฐานข้อมูลและเมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับฐานข้อมูล เช่น แฟ้มข้อมูลเสียหายเนื่องจากดิสก์เสีย ระบบจัดการฐานข้อมูลจะใช้ระบบข้อมูลสำรองนี้ในการฟื้นฟู สภาพการทำงานของระบบให้สู่สภาวะปกติ

     7. ช่วยควบคุมการใช้ข้อมูลพร้อมกับของผู้ใช้ในระบบ (Concurrency Control) ในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ใช้หลายคนสามารถเรียกข้อมูลได้พร้อมกัน ระบบฐานข้อมูลที่มีคุณสมบัติที่มีใช้หลายคนสามารถเรียกข้อมูลได้พร้อมกันระบบฐานข้อมูลที่มีคุณสมบัตินี้ จะทำการควบคุมการใช้ข้อมูลพร้อมกันของผู้ใช้หลายคนในเวลาเดียวกัน โดยมีการควบคุมอย่างถูกต้องเหมาะสม

     8. ช่วยควบคุมความสมบูรณ์ของข้อมูล (Integrity Control) ระบบจัดการฐานข้อมูลจะทำการควบคุมค่าของข้อมูลในระบบให้ถูกต้องตามที่ควรจะเป็น เช่น รหัสนักศึกษาที่ลงทะเบียน จะต้องตรงกับรหัสนักศึกษาในข้อมูลประวัติ

     9. ช่วยทำหน้าที่จัดทำดรรชนีข้อมูล (Data Directory) ระบบจัดการฐานข้อมูลจะทำการสร้างดรรชนีข้อมูลเมื่อมีการกำหนดโครงสร้างของฐานข้อมูลขึ้นมาเพื่อเก็บรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลเช่น ชื่อตาราง ชื่อฟิลด์ ดรรชนีต่างๆ เป็นต้น

การสืบค้นฐานข้อมูล

     การสืบค้น หมายถึง การค้นหาข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล จุดมุ่งหมายของ การเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล จุดหลัก คือ ง่ายต่อการสืบค้น เมื่อเวลาต้องการนำข้อมูลมาใช้ ชุดคำสั่งสำหรับการจัดการฐานข้อมูลเป็นชุดคำสั่งที่ใช้ในการค้นหา (Select) แก้ไข (Update) เพิ่มเติม (Insert) และการลบ (Delete)

     SQL (Structure Query Language) เป็นชุดคำสั่งที่ใช้จัดการฐานข้อมูลและข้อมูลในฐานข้อมูลชุดคำสั่ง SQL นิยมใช้มากในระบบฐานข้อมูลแบบตารางสัมพันธ์ ชุดคำสั่งที่ใช้ใน การจัดการกับฐานข้อมูลที่สำคัญๆ มี 4 คำสั่ง คือ

1. (Select) ใช้สำหรับการเลือกหาข้อมูลหรือเรคคอร์ดที่ต้องการในฐานข้อมูล

2. (Update) ใช้เมื่อต้องการแก้ไขข้อมูลหรือเรคคอร์ด

3. (Delete) ใช้เมื่อต้องการการลบข้อมูลหรือเรคคอร์ด

4. (Insert) ใช้เมื่อต้องการเพิ่มเติมเรคคอร์ดหรือข้อมูลใหม่